Qnature Lutein 20% 40mg. 30 Softgels.

คิวเนเจอร์  ลูทีน (20%) 30 มก.

ลูทีน (lutein) เรียกกันว่าวิตามินแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) มีความเกี่ยวข้องกับเบต้าแคโรทีนและวิตามินเอ อาหารที่เต็มไปด้วยลูทีน มีทั้ง บล็อคโคลี่ ปวยเล้ง คะน้า ข้าวโพด พริกหยวก กีวี่ องุ่น น้ำส้มคั้น แตง และน้ำเต้า
หลายคนคิดถึงลูทีนในฐานะของ “วิตามินสำหรับดวงตา” ใช้เพื่อช่วยโรคตารวมถึงโรคจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุ ต้อกระจก และโรคจอตามีสารสี (retinitis pigmentosa) 

ลูทีน (Lutein) กับการบำรุงสายตา ภายในจุดของดวงตา พบปริมาณโมเลกุลของลูทีนอยู่ปริมาณสูง โดยลูทีนจะฉาบบนผิวของ เรตินา (Retina) และ บริเวณจุดรับภาพ (macula) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญ ในจอประสาทตา เพราะเป็นจุดที่รูปภาพ และแสงสว่าง ซึ่งส่วนมากจะมาตกกระทบบริเวณนี้ ซึ่งเป็นส่วนที่จอตารับภาพได้ชัดเจน

ลูทีน จะช่วยในการดูดซับแสงสีน้ำเงินในแถบสีการมองเห็น และช่วยปกป้องการทำลายของคลื่นสั้นที่มีผลต่อเยื่อบุผิวเรตินา

❤ จากการศึกษาพบว่า เมื่อได้รับลูทีนปริมาณ 2.0 – 6.9 มิลลิกรัม ต่อวัน จะช่วยป้องกันความเสื่อมของจุดด่างในดวงตา

แหล่งกำเนิดลูทีน
ลูทีน(Lutein) นั้นเป็นสารที่มีอยู่ในระบบร่างกายของมนุษย์อยู่แล้ว กล่าวคือ ภายในจอประสาทตาของคนเรา มีร่องเล็กๆ อยู่จุดหนึ่งที่มีเซลล์รับภาพจอประสาทตา ซึ่งเป็นจุดที่แสงตกกระทบ และทำให้คนเราสามารถมองเห็นภาพที่ชัดเจนในแต่ละวัน ซึ่งบริเวณเซลล์รับภาพนี้มีสารสีเหลือง หรือลูทีนอยู่หนาแน่นมาก โดยจะพบได้ตรงชั้นเนื้อเยื่อที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาท หรือเรตินาตรงบริเวณ Macula Luta ซึ่งจุดดังกล่าวเป็นจุดที่สำคัญมากต่อการมองเห็น หากบริเวณดังกล่าวเสื่อม หรือเสียไป อาจทำให้สูญเสียการมองเห็น หรือตาบอดได้
 

กลไกการทำงานของลูทีน
สารลูทีนในเซลล์รับภาพของจอประสาทตานี้ จะทำหน้าที่สำคัญคือ คอยกรองแสงสีฟ้า ซึ่งเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา และเป็นแสงที่หลีกเลี่ยงได้ยากเพราะมีอยู่ทั่วไปรอบๆ ตัวเรา ซึ่งทั้งแสงจากดวงอาทิตย์ แสงจากโทรทัศน์ แสงจากจอคอมพิวเตอร์ แสงจากหลอดไฟ เป็นต้น ลูทีนกับโรคต้อกระจก กลไลของลูทีน สามารถลด ป้องกัน หรือชะลอการเกิดต้อกระจกได้นั้น เป็นเพราะลดกลไกการเกิดความเสื่อมของโรคต้อกระจกโดยตรง และการที่แคโรทีนอยด์มีคุณสมบัติเป็นสารอนุมูลอิสระ เพราะอนุมูลอิสระเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดต้อกระจก มีการวิจัยในกลุ่มผู้สูงอายุ ต่างๆ พบว่ากลุ่มที่มีระดับของลูทีนใน กระแสเลือดสูงจะมีความขุ่นของเลนส์ตาน้อยกว่า ซึ่งเป็นการวิจัยของจักษุแพทย์และผู้วิจัยสรุปว่า ลูทีนน่าจะลดการเกิดความเสื่อมของเลนส์ตาในผู้สูงอายุได้จริง ยังมีการวิจัยว่าการรับประทานลูทีนในปริมาณสูงเพิ่มความสามารถในการมองเห็นของผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกไปแล้ว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยที่มีการออกแบบแผนการวิจัยมาอย่างดี และทาการทดลองเป็นเวลานานถึงสองปี ลูทีนกับโรคจุดรับภาพเสื่อม นอกจากลูทีน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต้อกระจกแล้ว ยังพบว่ามีประโยชน์ในโรคจุดรับภาพเสื่อม ซึ่งมีหลายๆ การศึกษาสนับสนุนข้อมูลดังกล่าว โดยพบว่าถ้าปริมาณลูทีนในลูกตาลดน้อยลง จะพบความเสื่อมมากขึ้นในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อมและความเสี่ยงในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อมจะลดลง หากมีปริมาณลูทีนในเลือดสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่า การบริโภคอาหารที่มีลูทีนสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้
 

ลูทีน (Lutein)

 เป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ มีสีเหลือง เป็น Anti-Oxidant

✿ ปกป้องดวงตาและบำรุงสายตา

 ช่วยป้องกันเยื่อแก้วตา (retina)

 ลดความเสี่ยง ในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อม (macula lutea)

 ช่วยให้มองภาพได้คมชัด และเห็นรายละเอียดของภาพดีขึ้น

 ช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตา

 สามารถลดอุบัติการณ์ โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ

 

 

enlightenedทำไมเราถึงขาดลูทีนไม่ได้? 
ลูทีน (Lutein) เป็นสารที่ใช้งานแล้วหมดไป ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างสารทั้ง 2 นี้ได้ด้วยตัวเองจึงจำเป็นต้องรับประทานเสริมเข้าไปจากภายนอก และถ้าหากในร่างกายมีสารเหล่านี้ไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ความหนาแน่นของเม็ดสีรงควัตถุที่จอประสาทตาลดลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดจอประสาทตาเสื่อม (Age-related macular degeneration: ARMD) ซึ่งอาจมีความรุนแรงจนถึงขั้นทำให้ตาบอดได้ในที่สุ
 
enlightenedหน้าที่สำคัญของลูทีน?

ช่วยกรองแสงสีฟ้า (ฺBlue light filter) : สารสีเหลืองอย่างลูทีน และซีแซนทีนมีคุณสมบัติในการช่วยดูดซับแสงสีฟ้าที่มีพลังงานสูงได้ เปรียบเสมือนเป็นแว่นกันแดดจากธรรมชาติ ที่ป้องกันไม่ให้เซลล์ส่วนประกอบของดวงตาโดนคลื่นแสงทำลายได้ถึงในระดับ DNA

ควบคุมสมดุลระบบภูมิคุ้มกัน (Immunomodulation) : ข้อมูลจากการศึกษายืนยันว่าการมีลูทีนในร่างกายที่ไม่เพียงพอสามารถส่งผลเพิ่มระดับของ C-reactive protein ซึ่งเป็นสารที่หลั่งออกมาเมื่อร่างกายมีการอักเสบ นอกจากนี้หากร่างกายมีลูทีนน้อยสามารถส่งผลให้รัดับเซรั่มเม็ดเลือดขาว ที่เป็นพระเอกในระบบภูมิคุ้มกันยลดปริมาณลง จนอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้นด้วย

 
ขนาดการรับประทานที่แนะนำ
 

ป้องกันเซลล์จอประสาทตา : lutein 6–20 mg/day, zeaxanthin 2–5 mg/day

โรคจอประสาทตาเสื่อม ( Age-related Macular Degeneration; AMD ) : luteine 10 mg/day

ต้อกระจก : lutein 15 mg สัปดาห์ละ 3 ครั้ง

อย. 13-2-00763-2-0084