Qnature Gingko Biloba 60mg. 30 Softgels

คิวเนเจอร์ จิงโกะ ไบโลบา 60มก.

 

 แปะก๊วยมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Ginkgo biloba L. มีสารสำคัญกลุ่มเทอร์ปีนอยด์ (Terpinoidal compounds) ได้แก่ ไบโลบาไลด์(Bilobalide) และใบแปะก๊วยยังมีสารสำคัญกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ชนิดที่พบบ่อยคือ quercetin และ kaempferol ทำให้แปะก๊วยมีสรรพคุณที่เด่นชัดในด้านการอนุมูลอิสระ ช่วยการไหลเวียนของเลือด อีกทั้งยังมีส่วนช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้และความจำได้อีกด้วย
 
●  มีฤทธิ์อนุมูลอิสระ ในแปะก๊วยมีสารลดอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันเซลล์ในร่างกายจากการถูกทำลาย ทำให้เซลล์มีความแข็งแรง และช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็งได้ ช่วยลดไขมัน LDL และช่วยป้องกันจอตา (retina) ได้อีกด้วย
 
●  มีฤทธิ์เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ และความจำ ใบแปะก๊วยอุดมไปด้วยสารสำคัญที่จำเป็นต่อการบำรุงระบบประสาทและสมอง จึงช่วยส่งเสริมในด้านการเรียนรู้ และการจดจำ อีกทั้งยังช่วยอาการสมองเเสื่อมได้อีกด้วย
 
●  มีฤทธิ์เพิ่มการไหลเวียนโลหิต ใบแปะก๊วยทำให้เลือดไหลเวียนดี ทำให้มีเลือดไหลไปเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกายได้มากขึ้น สามารถใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน
 
●  ช่วยเพิ่มการมองเห็น สารสำคัญในใบแปะก๊วยทำให้การมองเห็นระยะยาวและลานสายตาของผู้ป่วยสูงที่จอประสาทตาเสื่อมดีขึ้น และยังสามารถชะลอความเสื่อมของจอตาได้ในผู้ป่วยเบาหวาน
 
●  ช่วยอาการหลอดเลือดส่วนปลายหดตัว เนื่องจากใบแปะก๊วยมีสรรพคุณกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด จึงทำให้เลือดไหลไปยังปลายมือปลายเท้าได้ดีมากขึ้น
 

สารออกฤทธิ์ในสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย มีสารสำคัญ 2 กลุ่ม

1. สารกลุ่มเทอร์ปีนอยด์ ประกอบด้วยสาร sesquiterpene ได้แก่ ไบโลบาไลด์ (bilobalide) และ ไดเทอร์ปีนคีโตน5 ชนิดรวมเรียกว่า “กิงโกไลด์” (ginkgolides) ได้แก่ ginkgolides A, B, C, J และ M

2. สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ในแป๊ะก๊วยมี flavonoid มากกว่า 30 ชนิด โดยเฉพาะ flavonoid glycoside โดยมีส่วน aglycone เป็นฟลาโวนอยด์หลัก 2 ชนิดคือ quercetin และ kaemferol เช่น quercetin-3-rhamnoside, kaemferol-3-rhamnoside, quercetin-3-rutinoside ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ในใบยังมีสารจำพวก biflavonoids หลายชนิด เช่น amentoflavone, bilobetin, ginkgetin, iso-ginkgetin เป็นสารที่พบเฉพาะในใบแป๊ะก๊วย  ซึ่งมีคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้

· เป็นสารอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง ช่วยปกป้องเซลล์สมองจากการทำลายของอนุมูลอิสระ

· ช่วยการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น

· เพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดเส้นเล็กๆ ส่งผลให้การนำพาออกซิเจนและอาหารไปเลี้ยงสมอง และส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น

· ต่อต้านการจับตัวของเกร็ดเลือด จึงช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดได้

 


10 คุณประโยชน์จากใบแปะก๊วย

1. สารสำคัญ 2 ชนิดที่อยู่ในใบแปะก๊วย (Gingko) ถือเป็นสารอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย นั่นก็คือ ฟวาโวนไกลโคไซค์ (Flavone Glycoside) และ เทอร์ปีน แลคโตน (Terpene lactone) ซึ่งสามารถช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย

2. ใบแปะก๊วย (Gingko) สามารถช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตของร่างกายและสมอง ทำให้ออกซิเจนสามารถไปเลี้ยงสมอง หัวใจ และอวัยวะต่าง ๆ ตามร่างกายได้ดี ถ้าสมองขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างไม่เพียงพอไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม สมองจะเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไป

3. ใบแปะก๊วย (Gingko) ช่วยป้องกันโอกาสการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากปกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้ไปเลี้ยงสมองได้ดี ซึ่งส่งผลดีต่อการช่วยปกป้องการสูญเสียความทรงจำ รวมทั้งบำรุงความจำ และช่วยอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้

4. ใบแปะก๊วย (Gingko) ช่วยลดอาการวิงเวียนศีรษะ เสียงดังในหู หรือหูอื้อลงได้ เมื่อรับประทานสกัดจากใบแปะก๊วย ขนาด 240 มก.ต่อวันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดจากแปะก๊วยมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการวิงเวียนศีรษะเท่าเทียมกับเบตาฮีสทีนซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาอาการวิงเวียนศีรษะอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

5. ใบแปะก๊วย (Gingko) ช่วยทำให้มีสมาธิและช่วยเรื่องความจำได้ดีขึ้น ในช่วงวัยทำงานที่ต้องการบำรุง สมองสามารถรับประทานแปะก๊วย ในปริมาณ 120-240 มก.ต่อวัน จะช่วยพัฒนาความคิด ช่วยความจำและทำให้มีสมาธิมากขึ้นได้

6. ใบแปะก๊วย (Gingko) ช่วยต้านโรคซึมเศร้าสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบทั่วไป มีการศึกษาพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีสภาวะอารมณ์ที่ดีขึ้นเมื่อรับประทานอาหารเสริมที่มีสารสกัดจากใบแปะก๊วยร่วมกับการรับประทานยาเพื่อรักษาอาการ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ

7. ใบแปะก๊วย (Gingko) ช่วยอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ดี เพราะสารสกัดจากใบแปะก๊วยจะช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น แก้ไขปัญหาเลือดไปไหลเวียนในบริเวณอวัยวะเพศไม่สะดวก โดยจากการศึกษาพบว่าการรับประทานสารสกัดจากแปะก๊วยเป็นประจำติดต่อกัน 6 เดือน ช่วยให้อาการดีขึ้นมากถึง 50% โดยเฉพาะในผู้ชายที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งการรับประทานแปะก๊วยจะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังองคชาตมากขึ้น

8. ใบแปะก๊วย (Gingko) นอกจากจะช่วยเรื่องอาการซึมเศร้า และแก้ไขปัญหาสภาวะทางอารมณ์ได้แล้ว ยังมีส่วนช่วยเรื่องความกังวล ในต่างประเทศมีการศึกษาวิจัยในกลุ่มตัวอย่างจำนวนหนึ่งเป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งในรับประทานสารสักดจากใบแปะก๊วย ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งในรับประทานยาหลอก ปรากฎว่าเมื่อถึงเวลาสรุปผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากแปะก๊วย (Gingko Extract) มีภาวะทางจิตใจที่ผ่อนคลาย อารมณ์คงที่ มากกว่ากลุ่มที่ให้ยาหลอก

9. ใบแปะก๊วย (Gingko) มีส่วนช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น และกระจางใสให้กับผิว มีการศึกษาโดยการนำเอาชาเขียว (Green Tea) และสารสกัดจากใบแปะก๊วย (Gingko Extract) มาทาผิวพบว่า ผิวที่เคยแห้งกร้านกลับมีความชุ่มชื้นเพิ่มมากขึ้น และช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่นดีขึ้น

10. ใบแปะก๊วย (Gingko) ช่วยลดความเสี่ยงการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง และลดการสะสมของคราบจุลินทรีย์และโรคหัวใจ ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เป็นภาวะอันตรายที่อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ
 

ประโยชน์ของ Gingko Biloba (สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย)ที่ใช้ในทางการแพทย์ 

● ช่วยอาการและชะลอความเสื่อมของสมองได้ ช่วยฟื้นฟูความทรงจำในผู้ป่วยสมองเสื่อม ช่วยความจำ ความคิด และการเรียนรู้ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ช่วยเพิ่มความตื่นตัวและสมาธิ (cerebral insufficiency) ช่วยลดภาวะซึมเศร้า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความทรงจำระยะสั้นได้ เพราะจากการทดลองพบว่าสารสกัดแป๊ะก๊วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่สมองของหนูขาวได้ เนื่องจากฤทธิ์ในการยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด (antiplatelet aggregation)

 ช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ช่วยอาการปวดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดส่วนปลายแขน ขาอุดตันได้อย่างมีนัยสำคัญ จากการศึกษาพบว่าสารพวก flavonoid ในสารสกัดแป๊ะก๊วยมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เนื่องจากไปกระตุ้นการสร้าง prostacyclin และกระตุ้นการหลั่ง nitric oxide ซึ่งมีผลทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดเลือด

 สภาวะการหายใจ การวิจัยในปี 1996 พบว่าใบแป๊ะก๊วยมีประสิทธิภาพในการป้องกันผู้ที่มีอาการ AMS (Asthma & Acute Mountain Sickness : ภาวะการผิดปกติของหายใจขณะขึ้นที่สูง) ซึ่งจะเกิดอาการขึ้นเพียง 13.6% ในผู้ที่ได้รับใบแปะก๊วย และ 81.8% ในกลุ่มผู้ที่กินยาหลอก ต่อมาในปี 2001 ได้มีการทดลองในผู้ป่วย 40 คน พบว่าใบแป๊ะก๊วยช่วยลดความรุนแรงของโรค AMS ได้ถึง 33% เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้รับประทานยาหลอกซึ่งมีความรุนแรงของโรคถึง 68%

● สภาวะหูอื้อ การทดลองปี 1986 พบว่าผู้ป่วยหูอื้อที่ได้รับสารสกัดแป๊ะก๊วยมีพัฒนาการดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ให้ยาหลอก และการทดลองผลต่อการทรงตัว และการได้ยิน พบว่าสารสกัดแป๊ะก๊วยสามารถเพิ่มการเกิด action potential ของเส้นประสาท cochlea หลังการถูกทำลายในหนูตะเภาได้ และสามารถทำให้การทรงตัวดีขึ้น หลังการฉีดสารสกัดแป๊ะก๊วยแก่หนูขาวที่ vestibular nucleus ด้านหนึ่งถูกทำลายไป

● สารที่สกัดได้จากใบแป๊ะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์อนุมูลอิสระ (Free radical) ในบริเวณตา ป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้ สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยเหมาะกับ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้ที่ใช้สมอง ความคิด ความจำในการทำงาน ซึ่งส่งผลให้สมองเครียดและสร้างอนุมูลอิสระขึ้นมาทำลายเซลล์สมอง และผู้สูงอายุ


enlightenedข้อควรระวัง
✿  ระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากสารสกัดใบแปะก๊วยมีฤทธิ์ต้านการเกาะกันของเกล็ดเลือด อาจทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น
 
 
enlightenedวิธีรับประทาน 
รับประทานครั้งละ 1 ซอฟท์เจล วันละ 1 ครั้ง พร้อมอาหาร
 
อย. 13-2-00763-2-0081

Qnature Gingko Biloba 60mg. 30 Softgels. คิวเนเจอร์ จิงโกะ ไบโลบา