Qnature Fish Oil 1000mg. 30s.
คิวเนเจอร์ ฟิชออยล์ 1000 มก 30 เม็ด
ความสำคัญของน้ำมันปลา
● กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกมีความจำเป็นต่อการพัฒนาของจอตาและสมองของทารก แต่ทารกไม่สามารถสังเคราะห์ DHA ได้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยจากน้ำนมแม่ โดยทารกแรกเกิดควรได้รับ DHA ไม่ต่ำกว่าวันละ 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม จากการศึกษายังพบว่าเด็กที่คลอดก่อนกำหนด เมื่อได้รับนมเสริม DHA จะสามารถมองเห็นได้ชัดเร็วกว่าเด็กที่ไม่ได้รับอีกด้วย มารดาและหญิงที่ให้นมบุตรจึงควรบริโภค DHA อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกที่ได้รับ ส่งต่อไปยังลูกโดยผ่านทางรกและน้ำนม
● กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกเป็นส่วนหนึ่งของเซลล์สมองและเซลล์ประสาทซึ่งมีผลต่อ สติปัญญา หากร่างกายขาด DHA จะทำให้เซลล์สมองและเซลล์ประสาทขาดประสิทธิภาพไปด้วย เด็กในวัยนี้จึงควรได้รับ DHA ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของสมอง
● คนในวัยทำงานมักประสบความเครียดอยู่เสมอ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะร่างกายขาด DHA ในปริมาณที่เหมาะสม กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกจะผ่านเข้าไปเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาท ของเซลล์สมอง ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้สมองทำงานดีขึ้น หากรับประทานอาหารที่มีกรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกจำนวนมากอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สัดส่วนของ DHA ในสมองสูงขึ้น ซความเครียดจะลดลงและสมองทำงานได้ดียิ่งขึ้น
● ผู้สูงอายุจะเกิดภาวะสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ได้ง่ายกว่าคนในวัยอื่นๆ โดยไม่ ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุอะไร แต่จากการทดลองโดยการให้กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกแก่ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ใน ประเทศญี่ปุ่น พบว่าความสามารถในการคำนวณ ความสามารถในการตัดสินใจ และประสิทธิภาพระดับสูงของผู้ป่วยดีขึ้น โดยกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับDHA เป็นเวลา 6 เดือนจะมีอาการที่ดีขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ DHA อย่างเห็นได้ชัด
กลไกการออกฤทธิ์ ของกรดไขมันโอเมก้า
● ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory effects) กรดไขมันโอเมก้า-3 จะเข้าไปแทนที arachidonic acid ที่เยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เกิดการสร้าง PG3(prostaglandin series3) , thromboxane A3, และ series5 leukotrienes มากกว่า เพื่อทดแทน PG2(prostaglandin series2) thromboxane A2 และ series4 leukotrienes โดยที่ thromboxane A3 ที่ผลิตจาก EPA มีผลต่อการกระตุ้นให้เกิดการเกาะกลุ่มกันของเกร็ดเลือดที่น้อยกว่า thromboxane A2 ซึ่งผลิตจาก arachidonic acid และ PG3(prostaglandin series3) มีผลต่อการอักเสบน้อยกว่าPG2(prostaglandin series2) ส่วน series5 leukotrienesที่ผลิตจาก EPA มีผลต่อการอักเสบน้อยกว่า series4 leukotrienes นอกจากนี้ DHA ยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยการยังยั้งการสร้าง PG2(prostaglandin series2)
● ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน (Prevention of thrombosis) กรดไขมันโอเมก้า-3 ยังยั้งการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน โดยการ ยังยั้งการสร้าง thromboxane A2 จาก arachidonic acid จากเกร็ดเลือดที่เป็นตัวการให้เกิดการเกาะกันของเกล็ดเลือด และ ทำให้หลอดเลือดหดตัว(vasoconstriction) นอกจากนี้น้ำมันปลายังเพิ่มการสร้าง prostacyclin ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว(vasodilation)
● ลดการสร้างไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride-lowering effects) กรดไขมันโอเมก้า-3ในน้ำมันปลา ลดการสร้างและการหลั่งของ VLDL ส่งผลให้ลดการสร้าง triacylglycerol โดยผ่านทางการลดการทำงานของ sterol receptor element-binding protein-1c ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมการสังเคระห์ไขมัน (lipogenesis) นอกจากนี้มีความเป็นไปได้ว่า กรดไขมันโอเมก้า-3ในน้ำมันปลา ช่วยเพิ่ม บีต้า-ออกซิเดชัน ภายในไมโตคอนเดรีย และ/หรือ peroxisomes โดยการกระตุ้น peroxisome PPAR-alpha ส่งผลให้ลดกรดไขมันที่เป็นสารตั้งต้นของการสังเคระห์ไตรกลีเซอร์ไรด์ จากกลไกลเหล่านี้จึงทำให้ลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ในร่างกาย
Fish oil ดีอย่างไร?
● ต้านการอักเสบ ในน้ำมันปลา มีกรดไขมันชนิด EPA ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยไปยับยั้งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบหลายชนิด
● โรคหัวใจและสมองขาดเลือด เนื่องจากมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและช่วยไขมันในเลือด จึงช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจและสมอง
● ลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ จึงลดความเสี่ยงในต่อการเป็นโรคหัวใจได้
● ดูแลสมอง โอเมก้า3 ในน้ำมันปลา ประกอบไปด้วย DHA ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มสมองและระบบประสาท
● ต้านภาวะซึมเศร้า น้ำมันปลามีส่วนช่วยในการสร้างสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ และยังช่วยควบคุมสมดุลย์ระหว่าง Omega-3 และ Omega-6 จากการวิจัยพบว่าคนที่มีระดับกรดไขมัน Omega-3 ต่ำ แต่ Omega-6 สูง มีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่าปกติ
วิธีรับประทาน
รับประทานครั้งละ 1 ซอฟท์เจล วันละ 1 ครั้ง พร้อมอาหาร
อย. 13-2-00763-2-0083